Equity Bucket แนวคิดที่สำคัญในโป๊กเกอร์

หนึ่งในความท้าทายที่น่ากลัวที่สุดของการเรียนรู้โป๊กเกอร์สมัยใหม่ โดยเฉพาะ ปริมาณข้อมูลที่มีมากมายจนไม่รู้ว่าจะหาวิธีที่ถูกต้องจัดการกับมันอย่างไร หากคุณเป็นมือใหม่แล้วพบกับตารางแสดง Range ของไพ่ที่แนะนำให้ตำแหน่งต่างๆใช้ และ ยังจำแนกออกเป็นหลากหลาย Action , ขนาดเดิมพันที่ใช้ที่มีความแตกต่างกัน และ การกระทำต่างๆ ที่ซับซ้อน จนทำให้คุณรู้สึกว่าการศึกษา Poker นั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก

 

สมองของมนุษย์มีวิธีการลดความต้องการในการจดจำข้อมูลชั่วคราวอย่างเป็นธรรมชาติ  นั่นก็คือ “Chunking” เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้เราจัดกลุ่มข้อมูลย่อย ๆ ให้เป็นหน่วยข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นและจัดการได้ง่ายขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยความจำระยะสั้นและช่วยให้การเรียนรู้สามารถทำได้ง่ายขึ้น

 

เทคนิคนี้ถูกอธิบายครั้งแรกโดยนักจิตวิทยาการรู้คิด George A. Miller ในบทความปี 1956 ที่มีชื่อว่า “The Magical Number Seven, Plus or Minus Two” ซึ่งศึกษาข้อจำกัดของหน่วยความจำมนุษย์ โดยพบว่า คนส่วนใหญ่สามารถจดจำวัตถุได้เพียง 5 ถึง 9 ชิ้นในเวลาเดียวกัน แต่หากรวมกลุ่มข้อมูลเข้าด้วยกัน สมองสามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น

 

Chunking ใช้ประโยชน์จากแนวโน้มตามธรรมชาติของสมองที่พยายามหาลวดลายและรูปแบบต่าง ๆ เช่น หากต้องจำตัวเลขชุดยาว ๆ อย่าง 1-9-4-7-1-9-7-3 การจำตัวเลขแต่ละตัวทีละตัวอาจเป็นเรื่องยาก แต่หากเราจัดกลุ่มเป็น 1947 และ 1973 จะทำให้การจำง่ายขึ้น เพราะเรามักจะจำปี ค.ศ. 1947 และ 1973 ได้โดยอัตโนมัติ

 

การ Chunking ใน Poker

คุณใช้ chunking หลายวิธีอยู่แล้วในการเล่นโป๊กเกอร์ เช่น การใช้ HUD และ กำหนดสีคู่ต่อสู้ หากคู่ต่อสู้มี VPIP มากกว่า 35% คุณอาจกำหนดสีเขียวไว้ที่ผู้เล่นคนนั้น และแทนที่จะต้องคอยสังเกตการเล่นของเขา คุณแค่มองสีที่คุณกำหนดก็สามารถระบุประเภทของคู่ต่อสู้และปรับกลยุทธ์เพื่อที่จะรับมือเขาได้ทันที 

 

นอกจากนี้ เรายังใช้ chunking ในแง่อื่นๆ ด้วย โดยการกำหนดกลุ่ม-ประเภท ของไพ่นั่นๆ เป็นชื่อเรียก ยกตัวอย่างเช่น การเรียกไพ่คู่ที่ใหญ่กว่าไพ่ที่เปิดขึ้นบนบอร์ด ว่า “overpairs”  หรือคำว่า “suited connectors” สำหรับไพ่ที่มีดอกเดียวกันและเรียงกันต่อเนื่อง การทำเช่นนี้ทำให้ลดภาระในการจดจำรายละเอียด ซึ่งทำให้คุณสามารถเล่นหลายโต๊ะได้พร้อมกัน เพราะคุณไม่จำเป็นต้องคิดถึงการเล่นไพ่ 72o จากตำแหน่ง UTG คุณเลือกที่จะหมอบไปทันที เพราะคุณได้จัด 72o เป็นไพ่ที่อยู่ในกลุ่ม “ไพ่ที่ไม่มีค่า” หรือ “ขยะ” ไว้แล้ว

 

Equity Bucket

Equity Bucket คือการจัดกลุ่มของไพ่ ในรูปแบบ chunking รูปแบบหนึ่งในการเล่น Poker โดยการมองโครงสร้างของไพ่เป็น Range เมื่อเกิดการปะทะกันของผู้เล่น

 

EQ Buckets – แบบพื้นฐาน

เราสามารถแบ่ง EQ Buckets ออกเป็นกลุ่มพื้นฐานได้ดังนี้

  • 1. Best Hands : ไพ่ที่ดีที่สุด
  • 2. Good Hands : ไพ่ที่ดี
  • 3. Weak Hands : ไพ่ที่อ่อนแอ
  • 4.Trash Hands : ไพ่ที่แย่ที่สุด

 

การจัดกลุ่มว่าไพ่ใดเป็น “Best” หรือ “Trash” นั้นเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่น ในบอร์ดที่ไม่มีการเชื่อมโยงกัน “Dry board” ไพ่สองคู่ ก็อาจถือเป็น “Best Hand” ได้ แต่บนบอร์ดที่เชื่อมโยงและมีสีเดียวกันทั้งหมด “Connected + Monotone board” ไพ่สองคู่อาจจะกลายเป็น “Weak Hand” บนบอร์ดนี้ก็ได้

 

เมื่อเราจัดกลุ่่มพื้นฐานให้กับไพ่ได้แล้วเราจึงมาพิจารณาถึงแผนการเล่นของกลุ่มต่างๆ ได้ดังนี้

  • Best Hands : ไพ่ที่มีความแข็งแกร่งสูงมากและพร้อมที่จะเล่นด้วยจำนวนชิปทั้งหมด (Stack off)
  • Good Hands : ไพ่ที่ต้องการเล่นเพื่อทำกำไร หรือ Value
  • Weak Hands : ไพ่ที่มี Equity บ้าง และต้องการเล่นให้เข้าถึงการเปิดไพ่ (Showdown) โดยไม่ต้องลงทุนชิปมาก
  • Trash Hands : ไพ่ที่มี Equity ต่ำมาก ซึ่งจะชนะได้ก็ต่อเมื่อใช้การ Bluff

 

การแบ่งกลุ่มตาม equity buckets นี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการทำความเข้าใจข้อมูลจำนวนมากๆ เช่น ความได้เปรียบของ Range advantage เราลองมาทำความเข้าใจจากตัวอย่าง 

 

ตัวอย่างที่ 1  เปรียบเทียบ ระหว่าง Range ของผู้เล่นในตำแหน่ง UTG vs BB  SRP

 

 

นี่คือสถานการณ์ระหว่า Range ของผู้เล่นตำแหน่ง BB vs UTG ในพอตที่มี Raise เพียงครั้งเดียว บนบอร์ด K♦Q♣2♠

 

คุณสามารถดูรายละเอียดของ Range morphology  และ จากการไล่สีของไพ่ใน Equity matrix สามารถสังเกตได้ว่า ผู้เล่นในตำแหน่ง UTG มีสัดส่วน สีเขียวและเหลือง (ไพ่ที่มี Equity ปานกลางถึงสูง) มากกว่า ส่วนฝั่ง BB มีสีส้ม (ไพ่ที่มี equity ต่ำ) มากกว่า

หรือคุณสามารถสรุปได้ง่ายๆ โดยดูจาก Equity buckets






ผู้เล่นที่ตำแหน่ง UTG มีไพ่ที่อยู่ในกลุ่ม Best hands และ Good hands มากกว่า และ แม้กระทั่งมีไพ่ Weak hands มากกว่าผู้เล่นที่ตำแหน่ง BB ในทางกลับกัน BB มีไพ่กลุ่ม Trash hands อยู่ถึง 57.6% ซึ่งเมื่อดูแบบนี้แล้ว แม้จะไม่ต้องพิจารณาในรายละเอียด ก็รู้ได้ว่า BB ควรจะเล่นด้วยการ check ทั้งหมดของ Range (Range-check) ขณะที่ UTG ควรจะเล่นด้วยการ Bet ทั้งหมดของ Range หรือ Range-bet สถานการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงความได้เปรียบของช่วงที่แคบและ linear (ไพ่แข็งแรงกว่า) ของ UTG เทียบกับช่วงที่กว้างและ capped ของ BB

 

ตัวอย่างที่ 2  เปรียบเทียบ ระหว่าง Range ของผู้เล่นในตำแหน่ง UTG vs BTN  SRP

เราเลือกเปลี่ยน บอร์ด เป็น A♠8♦2♣ A♣ 7♥ 

ภาพด้านล่างแสดงการจัดกลุ่ม Equity buckets บนบอร์ดที่แตกต่างจากตัวอย่างแรก โดยเป็นการเล่นระหว่างตำแหน่ง UTG และ BTN ในพอตที่มีการ raise เพียงครั้งเดียว โดยที่มีการ Bet-Call ทั้งรอบ Flop และ Turn

 






โดยที่ไม่ต้องเห็น Flop หรือ Ranges เลย เราสามารถรู้ได้ทันทีว่า UTG มี Range แบบ Polarized และ BTN มี Range แบบ Condensed ซึ่ง UTG จะมีมือที่ดีที่สุดมากกว่า แต่ก็มี Trash hands มากกว่าด้วยเช่นกัน โดยที่ไม่มีมือในระดับกลาง ในขณะที่ BTN จะมีมือที่มีความแข็งแกร่งปานกลาง ซึ่งจะอยู่ในกลุ่มกลางๆ ของ Equity buckets ซึ่งแผนการเล่นโดยส่วนใหญ่ของ UTG ก็จะเป็นการ Bet ใหญ่ด้วยมือที่ดีที่สุดและแย่ที่สุด ขณะที่มือในกลุ่มกลางจะเลือก Check

และนี่คือตัวอย่างที่ดีของการนำ Chunking มาใช้ให้เป็นประโยชน์โดยการ จัดแบ่ง Equity ออกเป็นกลุ่มๆ ที่เรียกว่า Equity Bucket ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจและสรุปกลยุทธ์โดยรวมได้ง่ายขึ้น

 

สรุปบทความ

ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของนักโป๊กเกอร์ก็คือ การที่จะต้องจดจำข้อมูลต่างๆที่มากมาย เกินกว่าที่จะสามารถจดจำรายละเอียดได้ทั้งหมด หากคุณต้องจดจำวิธีการเล่น และ กลยุทธ์ที่จะต้องใช้ในทุกๆ มือ ใน Range อาจต้องใช้เวลานานมากที่จะสามารถจดจำได้ การใช้เทคนิค Chunking ช่วยลดความจำเป็นในการใช้ความคิดที่มากเกินไปโดยการวางแผน 

จัดกลุ่มในลักษณะที่จัดการได้ง่ายขึ้น ด้วย Equity Bucket จะช่วยให้คุณมีภาพรวมของ Range advantage, Range morphology และกลยุทธ์โดยรวมที่เข้าใจง่ายขึ้น และมันจะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของกลยุทธ์ได้ชัดเจนขึ้นก่อนที่จะลงลึกเข้าไปในรายละเอียดเพิ่มเติม

 

Share to