เล่นที่ Turn อย่างเฉียบคมด้วยทฤษฎี ปลาวาฬ Beluga (Beluga theorem)

ถ้าพูดถึงทฤษฎีเกี่ยวกับโป๊กเกอร์ มีการศึกษาในการเล่นโป๊กเกอร์ไว้มากมาย โดยทฤษฎีขั้นพื้นฐานส่วนใหญ่นั้นถูกเขียนขึ้นโดยโปรโป๊กเกอร์ชื่อดัง David Sklansky ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับโป๊กเกอร์ไว้มากมาย

โดยมีส่วนหนึ่งในหนังสือ Theory of poker ได้ยกตัวอย่างว่า

ถ้าคุณสามารถเล่นโป๊กเกอร์โดยที่คุณสามารถเห็นไพ่ฝ่ายตรงข้าม คุณจะสามารถเอาชนะ หรือเสียให้น้อยที่สุดได้ไหม?

เช่นเดียวกัน ถ้าคุณต้องเล่นไพ่ใบเดิมกับฝ่ายตรงข้ามโดยที่ไม่เห็นว่าฝ่ายตรงข้ามมีอะไร คุณจะสามารถ เอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้ หรือหมอบไพ่เหมือนอย่างที่คุณเห็นไพ่ของฝ่ายตรงข้ามไหม?

หากคุณสามารถทำกำไรได้ โดยการเล่นที่เหมือนกับว่าฝ่ายตรงข้ามเปิดไพ่เล่นกับคุณ นั่นคือการเล่นที่ สมบูรณ์แบบตามทฤษฎีบทพื้นฐานในการเล่นโป๊กเกอร์ เราหวังว่าจะมีคนเปิดไพ่ให้ดูขณะเล่นก็คงดี แต่ถ้าไม่! คุณคงต้องศึกษาให้มากขึ้นเพื่อที่จะทำให้ความสามารถในการเล่นของคุณดีขึ้นจนสามารถคาดเดาไพ่ของฝ่ายตรงข้ามได้

และสำหรับบทความนี้ขอเสนอหนึ่งในทฤษฎีบทพื้นฐานโป๊กเกอร์

 

Beluga theorem

นิยามนี้กล่าวไว้ว่า
“เมื่อคุณถูก Raise หรือ Check-Raise ที่ Turn คุณควรพิจารณาว่าไพ่ของคุณอาจไม่ได้แข็งแกร่งพอที่จะชนะอีกต่อไป”

แม้คุณจะทำความเข้าใจได้ แต่ขอให้คุณลองพิจารณาตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพว่ามันหมายความว่าอย่างไร ตามตัวอย่างด้านล่าง

 

ตัวอย่าง Beluga theorem

คุณถือไพ่ A♠ K♦

คุณเป็นคนแรกที่ต้องเล่น และแน่นอนด้วยไพ่ AK คุณตัดสินใจ Raise 4BB และมีผู้ Call มา 1 คน ที่ตำแหน่ง Late Position  คุณสองคนเข้าไปเล่นต่อที่ Flop

Flop: A♥ 9♣ 3♦

ไพ่บนบอร์ดเข้าทางคุณ คุณมี Top pair -Top Kicker คุณ bet 4BB (ประมาณ ½ Pot) เพราะฝ่ายตรงข้ามไม่น่าจะมีไพ่อะไรที่พอจะ Call คุณได้มากนัก แต่เขา Call คุณมาได้

Turn: A♥ 9♣ 3♦ 7♣

ด้วยไพ่ 7♣  เป็นไพ่ที่ ค่อนข้าง Save สำหรับคุณ คุณยังมีไพ่ที่ดี คุณตัดสินใจ bet ออกไป ¾ Pot เพื่อหา Value จากคู่ต่อสู้ที่อาจกำลังลุ้นสี (Flush) หรือเรียง(Straight) ให้ได้มากที่สุด และไม่คุ้มค่า Odds

ทันใดนั้นเขาก็ Raise กลับมา !

ถ้าคุณมีประสบการณ์ในการเล่นมาบ้าง  คุณควรจะต้องคิดสักนิดว่า ทำไมเขาถึง Raise คุณกลับมาแทนที่จะ Call

ซึ่งตรงตามทฤษฎีปลาวาฬ Beluga theorem ที่แนะนำว่า คุณควรกลับมาพิจารณาว่า ไพ่ของคุณในขณะนี้ไม่ได้แข็งแกร่งพอที่จะชนะอีกต่อไป และ ควรพิจารณาที่จะหมอบเป็นส่วนใหญ่ !

ทำไมทฤษฎีนี้จึงมีผลต่อการตัดสินใจ ? เราจะค่อยๆ อธิบายให้คุณฟัง

เมื่อคุณถูก Raise ที่ Turn ลองถามตัวเองว่า มี Hand อะไรของเขาที่แพ้ A แล้ว Raise?

 

คำตอบคือ ไม่!

 

แน่นอน ตอนนี้คุณติดคู่ A ที่มี Kicker  K เป็น Top pair – Top kicker ไม่มีใครหมอบในสถานการณ์นี้  แต่ก่อนที่คุณจะตัดสินใจ Call  ให้คุณลองหาเหตุผลว่าทำไม คู่ต่อสู้ถึง Raise

1. เขามี Draw และ Over Aggressive เกินไป (Semi-Bluff)

2. เขามี 2 Pair ขึ้นไป และต้องการ Value จากคุณที่เป็น Top pair หรือDraw

และเนื่องจากคุณเสียเปรียบในเรื่องตำแหน่ง หากคุณตัดสินใจ Call ที่ Turn เพื่อเล่นต่อไป และไม่ว่าไพ่ที่ River ออกมาเป็นอะไร (ที่ไม่เข้าทางคุณ) คุณก็จะถูก Bet ด้วย Size ที่ใหญ่มากๆ

ไม่ว่าเขาจะ Bluff หรือ Value นั้นทำให้คุณตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากมาก ในการตัดสินใจ ถึงตรงนี้คุณอาจตบหัวตัวเองแล้ว คิดในใจว่าหมอบไปเสียก็สิ้นเรื่อง

 

คุณอาจเสี่ยง Call ที่ Turn โดยหวังว่า River จะเปิดออกมาเข้าทางคุณ แต่ถ้าไม่! คุณควรเชื่อปลาวาฬ Beluga theorem โดยการหมอบเสียดีกว่า

 

หวังว่าการศึกษาทฤษฎีโป๊กเกอร์นี้จะเป็นประโยชน์กับเหล่าผู้ที่หาความรู้โป๊กเกอร์ให้ Run Good 

Share to . . .

บทความน่าสนใจ